ชิงร้อยชิงล้าน รายการโทรทัศน์ที่วันรุ่นนิยมดูมากที่สุด

วัยรุ่นเป็นวัยที่ตื่นตัวและพร้อมรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การที่จะส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นจำเป็นต้องเข้าใจถึงทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ของวัยรุ่นอย่างถูกต้องชัดเจน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่องสุดยอดความนิยมของวัยรุ่นขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 – 21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2552

รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
รายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7)
ร้อยละ 20.3
รายการตีสิบ (ช่อง 3)
ร้อยละ 8.0
ละครเป็นต่อ (ช่อง 3)
ร้อยละ 6.9
รายการบางจะเกร็ง (ช่อง 5)
ร้อยละ 4.3
รายการสาระแนโชว์ (ช่อง 5)
ร้อยละ 3.6

รายการชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งสิ้น 5 ชื่อ โดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน ไว้เสมอ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

2.ชิงร้ิอยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

3.ชิงร้ิอยชิงล้าน Super Game

4.ชิงร้ิอยชิงล้าน Cha Cha Cha

5.ชิงร้ิอยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก



ขอขอบคุณ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา กรุงเทพโพลล์ และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

ประวัติ

หลังจากชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ฉากและกฏกติกาเกมทั้งหมดยังคงเป็นชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ในปี 2537 อยู่เหมือนเดิม



เกมในชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

ในเกมชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตนั้นกฏกติกายังคงใช้รูปแบบเดียวกันกับ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ในปี 2537

จริงหรือไม่

เกมจริงหรือไม่ เป็นเกมที่นำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขัน ในเกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย โดยเรื่องราวเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เป็นเกมการแข่งขันในรูปแบบตอบคำถาม โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งให้ทีมเจ้าของเรื่องเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีมตรงข้ามมาเป็นผู้ตอบ ให้ทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้คะแนนไป แต่ถ้าตอบผิด ทีมเจ้าของเรื่องจะได้คะแนน
ทั้งนี้ เกมจริงหรือไม่ จะมีคำถามทั้งหมด 8 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบคำถามทั้งหมด 4 ข้อด้วยกันซึ่งจะมีข้อละ 1 คะแนนส่วนข้อสุดท้ายมี 2 คะแนน และเป็นการสลับกับตอบคำถามไประหว่างสองทีม โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมีหม่ำ จ๊กมกและเอ๊ดดี้ ผีน่ารักมาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย อีกทั้ง ทีมใดก็ตามที่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องครบทั้ง 8 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท จากผู้สนับสนุนรายการด้วย

รอบตัดสิน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot โดยจะมี 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของปัญญา และ มยุรา ซึ่งเป็นพิธีกรในรายการ และป้ายรูปใบหน้าหม่ำ โดยถ้าเจอป้ายปัญญาแปลว่าได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนส่วนป้ายมยุรา หากเปิดได้ จะถือว่าเข้ารอบทันที (มีค่า 10 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่ค่าของคะแนนสามารถชนะป้ายอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้ายปัญญาด้วย) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น เป็น 0 คะแนน ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันที ไม่ว่าจะเปิดได้อะไรก็ตาม) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่ด้วย ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมจริงหรือไม่มากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ ในทีมที่สามารถเปิดได้ 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญา และมยุรา ทั้งคู่ ทีมนั้นจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นเงินรางวัล 100,000 บาท และเมื่อทีมที่สามารถเลือกเปิดป้าย 2 แผ่นป้ายและเปิดป้ายคะแนนรวมคะแนนเท่ากันเป็น 10 คะแนนพอดีโดยที่ไม่เกิน 10 หรือเปิดป้ายปัญญา-มยุราแต่อย่างใดก็จะได้รับรางวัลพิเศษคือแพคเกจทัวร์เดิน ทางไปยัง ประเทศจีนจากบริษัทนำเที่ยววีคเอนด์ ทัวร์อีกด้วย (รางวัลพิเศษจะเห็นได้ชัดในช่วงปี 2538 จนถึงยุค Super Game)

ประตูหม่ำ ประตูหมื่น

ในเกมนี้ประตูหม่ำ ประตูหมื่น นั้นเป็นเกมสำหรับทีมของผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบเท่านั้นโดยจะให้ดารา 1 ใน 3 คนไปอยู่ในประตู แล้วให้ดารา 2 คน ที่อยู่ด้านนอกเป็นผู้ทายว่าเพื่อนร่วมทีมของตน อยู่ในประตูใด เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ทว่าถ้าดาราเปิดประตูเจอดาราด้วยกันจะได้เงินรางวัล 10,000 บาท และถ้าดาราเปิดประตูเจอหม่ำ จ๊กมก จะไม่ได้เงินรางวัลอะไรเลย

รอบสุดท้าย

ในรอบ Jackpot ของชิงร้อยชิงล้านครั้งหนึ่งในชีวิตนั้นยังคงใช้ในการเปิดป้ายอยู่เช่นเดียว กันกับชิงร้อยชิงล้าน Top Secretโดยจะมีแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกันโดยถ้าเปิดเป็นเลข 0 มี 6 แผ่นป้ายถ้าเปิดป้ายเลข 0 จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท แต่ถ้าเจอป้ายรูป หม่ำ จ๊กมก อาบน้ำ (หม่ำ หัวเย็น) จะมี 3 ป้ายที่มีเงินรางวัลจากผู้สนับสนุนในช่วงนั้นเป็นแป้งเย็นยี่ห้อตรางูเป็น เงินรางวัล 20,000 บาท และรูปหม่ำ จ๊กมกโดนผึ้งต่อยมี 3 ป้ายซึ่งแปลว่าเป็นป้ายเปล่าที่ไม่มีรางวัลอย่างใด แต่ถ้าเปิดป้าย 0 หรือรูปหม่ำ จ๊กมกทั้ง 6 แผ่นป้ายครบจะได้เงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะให้คนละ 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัลซึ่งเป็นฉลากชิ้น ส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตนั้นจะมีทีมละ 2 ทีมด้วยกันแต่ละทีมจะมี 3 คนต่อสัปดาห์โดยแต่ละทีมจะมีชื่อทีมด้วยกันและทีมที่มาอยู่ในรายการทั้งสอง ฝ่ายจะเป็นทีมชายและทีมหญิงเป็นต้น

เกร็ดข้อมูล

  • ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตนั้นมี Jackpot แตกเพียงครั้งเดียวคือ
    • ล้านที่ 9 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ แดนนี่ ศรีภิญโญ , เจ มณฑล จิรา และ เจสัน ยัง ทำล้านแตกออกอากาศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม  พ.ศ.2538
  • ในยุคของชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ปัญญามักสวมเสื้อสูทสีเขียวบ่อยครั้ง ยกเว้นช่วงพระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ที่ปัญญาจะสวมเสื้อสูทสีดำ
  • ในชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ได้เพิ่มส่วนวงดนตรีประกอบในรายการในฉากจนใช้ถึงปัจจุบัน