ชิงร้อยชิงล้าน รายการโทรทัศน์ที่วันรุ่นนิยมดูมากที่สุด

วัยรุ่นเป็นวัยที่ตื่นตัวและพร้อมรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การที่จะส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นจำเป็นต้องเข้าใจถึงทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ของวัยรุ่นอย่างถูกต้องชัดเจน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่องสุดยอดความนิยมของวัยรุ่นขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 – 21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2552

รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
รายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7)
ร้อยละ 20.3
รายการตีสิบ (ช่อง 3)
ร้อยละ 8.0
ละครเป็นต่อ (ช่อง 3)
ร้อยละ 6.9
รายการบางจะเกร็ง (ช่อง 5)
ร้อยละ 4.3
รายการสาระแนโชว์ (ช่อง 5)
ร้อยละ 3.6

รายการชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งสิ้น 5 ชื่อ โดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน ไว้เสมอ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

2.ชิงร้ิอยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

3.ชิงร้ิอยชิงล้าน Super Game

4.ชิงร้ิอยชิงล้าน Cha Cha Cha

5.ชิงร้ิอยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก



ขอขอบคุณ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา กรุงเทพโพลล์ และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

ประวัติ

หลังจากรายการชิงร้อยชิงล้านออกอากาศมาประมาณ 3 ปี 9 เดือน และได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ชมโทรทัศน์ในยุคนั้น ชิงร้อยชิงล้านก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ชนิด "ยกเครื่อง" โดยได้เปลี่ยนชื่อรายการมาเป็น ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret
ชื่อชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นมาจากการรวมความลับของดาราทั้งหมดมาอยู่ในรายการซึ่งจะมีทั้งประสบการณ์ ในชีวิตของดาราและความสามารถต่างๆที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ทั้งนี้ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นับเป็นรูปแบบรายการใหม่ที่ไม่เหลือเค้าของความเป็นชิงร้อยชิงล้านเดิม จากเดิมที่เป็นเกมการแข่งขันต่างๆ (เช่น ชิงบ๊วย, ชิงดำ เป็นต้น) มาเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของดารารับเชิญในรูปแบบเกมการแข่ง ขัน โดยเกมทั้งหมดที่เคยมีอยู่เดิม ได้ถูกตัดทอนให้เหลือเพียง 2 เกมหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือเกม จริงหรือไม่ ที่เป็นคำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ชีวิต และเรื่องราวต่างๆในหลายแง่มุมที่เกิดขึ้นกับดาราที่เป็นผู้ร่วมเล่นเกม ทั้งนี้ เกมจริงหรือไม่ ได้อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมานานกว่า 5 ปี ผ่านชิงร้อยชิงล้านมาถึง 4 ยุค ก่อนที่รูปแบบของจริงหรือไม่ จะถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha

เกมในชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

ในชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นได้ปรับเปลี่ยนเกมรูปแบบใหม่ ที่แตกต่างไปจากชิงร้อยชิงล้านเดิมจนหมดสิ้น และเหลือเพียง 2 เกมหลักเท่านั้น (แต่เหลือเพียงเกมเดียวในปี 2537 เป็นต้นมา) ทั้งนี้ เกมในชิงร้อยชิงล้าน Top Secret อาจแบ่งแยกได้เป็น 2 ยุค คือก่อนปี 2537 และหลังปี 2537 ซึ่งทั้งสองยุคมีกติกาที่แตกต่างกันไป ดังที่จะมีการกล่าวไว้ในเกมแต่ละเกมด้วย

จริงหรือไม่

เกมจริงหรือไม่ เป็นเกมที่เริ่มต้นขึ้นในยุคนี้ และจะอยู่คู่ชิงร้อยชิงล้านไปอีก 8 ปี (ถึงชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha) ซึ่งเกมนี้ เป็นการนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันใน เกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย โดยเรื่องราวเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เป็นเกมการแข่งขันในรูปแบบตอบคำถาม โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้คะแนนไป แต่ถ้าตอบผิด ทีมเจ้าของเรื่องจะได้คะแนน
ทั้งนี้ เกมจริงหรือไม่ จะมีคำถามทั้งหมด 8 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบคำถามทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน และเป็นการสลับกับตอบคำถามไประหว่างสองทีม โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมีคุณหม่ำ จ๊กมก มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย
ทว่าในปี 2537 เกมจริงหรือไม่ ถูกปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยในการตอบคำถามนั้น จะให้ทีมเจ้าของเรื่องเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีมตรงข้ามมาเป็นผู้ตอบ แต่การได้คะแนนจะยังคงรูปแบบเดิมไว้ นอกจากนี้ ในคำถามทั้ง 8 ข้อ ข้อสุดท้ายจะมีคะแนนอยู่ 2 คะแนน (ปกติ คำถามแต่ละข้อจะมีข้อละ 1 คะแนน) อีกทั้ง ทีมใดก็ตามที่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องครบทั้ง 8 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท จากผู้สนับสนุนรายการด้วย

รอบตัดสิน

ในรอบนี้เป็นการตัดสินว่าผู้เข้าแข่งขันทีมใดจะได้เข้าสู่รอบ Jackpot ชิงเงินล้าน ซึ่งในช่วงแรก (ก่อนปี 2537) เกมในรอบนี้จะคล้ายกับเกมชิงล้านของชิงร้อยชิงล้านยุคแรก เสมือนการนำเอาเกม แจ็กพอต เดิมโยกย้ายมาไว้เป็นเกมรอบตัดสินนี้ โดยจะมีคำถามทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งในแต่ละทีม ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งจะอยู่ในห้องที่กั้นเสียงทั้งหมด ส่วนอีกคนหนึ่งจะบอกคำเฉลย โดยผู้ที่อยู่ในห้องต้องตอบคำตอบทั้ง 5 ข้อ ซึ่งคำถามจะมีลักษณะเช่น เพื่อนร่วมทีมของตนชอบอะไรบ้าง, เพื่อนร่วมทีมของตนไม่ชอบสัตว์อะไร, เพื่อนร่วมทีมของตนชื่นชอบหนังของเพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในห้องกั้นเสียง เป็นต้น ถ้าใครตอบคำถามได้มากที่สุด ผู้เข้าแข่งขันทีมนั้นจะเข้าได้สู่รอบ Jackpot ชิงเงินล้านทันที
ทว่าตั้งแต่ช่วงปี 2537 เป็นต้นมา เกมรอบตัดสินได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการเปิดป้ายคะแนนแทน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเกมชิงบ๊วยในยุคชิงร้อยชิงล้านยุคแรก แต่จะใช้รูปแบบของแผ่นป้ายขนาดเล็กแทนการเปิดลูกคะแนนที่เป็นลูกเหล็กทรงกลม โดยจะมีแผ่นป้าย 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 และอีก 3 แผ่นป้าย จะเป็นรูปใบหน้าของคุณปัญญาและ คุณมยุราซึ่งเป็นพิธีกร และคุณหม่ำ ซึ่งเป็นตลกประจำรายการ ทั้งนี้ ถ้าเปิดเจอป้ายปัญญา จะได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนป้ายมยุรา หากเปิดได้ จะถือว่าเข้ารอบทันที (มีค่า 10 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่ค่าของคะแนนสามารถชนะป้ายอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้ายปัญญาด้วย) แต่ถ้าเจอป้ายหม่ำจะตกรอบทันที (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันที ไม่ว่าจะเปิดได้อะไรก็ตาม) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่ด้วย ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมจริงหรือไม่มากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ ในทีมที่สามารถเปิดได้ 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญา และมยุรา ทั้งคู่ ทีมนั้นจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นเงินรางวัล 100,000 บาท
อนึ่ง เกมเปิดป้ายคะแนนนี้ ได้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน (ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) โดยรูปแบบของเกมนี้ ไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลงเลยตลอดระยะเวลาที่ใช้มา นอกจากเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ต่อมา ไม่มีการถือว่าผู้ที่ได้เปิด 2 แผ่นป้ายได้เข้ารอบทันที หากมีคะแนนเสมอกัน เป็นต้น และในขณะเดียวกัน ปี 2537 นับเป็นปีที่มีการยุติการเล่นเกมทายใจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชิงร้อยชิงล้านในยุคแรกอย่างถาวร หลังจากที่มีการใช้เกมทายใจเป็นเกมแจ็กพอต และเกมในรอบตัดสินมาตลอด 4 ปี (2533 - 2537)

ประตูหม่ำ ประตูหมื่น

สำหรับเกม ประตูหม่ำ ประตูหมื่น นี้ เป็นเกมสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบเท่านั้น โดยก่อนปี 2537 นั้นจะให้ดาราคนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่ในประตูทึบ แล้วให้ดาราที่อยู่ด้านนอกนั้น เลือกประตูว่าเพื่อนร่วมทีมของตนที่อยู่ในประตูนั้นอยู่ประตูที่ 1 หรือ ประตูที่ 2 ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประตู และทั้ง 2 ประตูนี้จะมีดารา และหม่ำ จ๊กมก อยู่ด้วย ถ้าดาราเปิดประตูเจอดาราด้วยกัน จะได้เงินรางวัล 20,000 บาท แต่ถ้าดาราเปิดประตูเจอหม่ำ จ๊กมก จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท
แต่ในช่วงปี 2537 ซึ่งชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ได้เปลี่ยนรูปแบบให้ทีมผู้เข้าแข่งขันมีทีมละ 3 คนนั้น ประตูหม่ำ ประตูหมื่น จะให้ดารา 1 ใน 3 คนไปอยู่ในประตู แล้วให้ดารา 2 คน ที่อยู่ด้านนอกเป็นผู้ทายว่าเพื่อนร่วมทีมของตน อยู่ในประตูใด เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ทว่าถ้าดาราเปิดประตูเจอดาราด้วยกันจะได้เงินรางวัล 10,000 บาท (จากเดิม 20,000 บาท) และถ้าดาราเปิดประตูเจอหม่ำ จ๊กมก จะไม่ได้เงินรางวัลอะไรเลย

รอบสุดท้าย

ในรอบ Jackpot ของชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นได้พัฒนาเกมจากรอบชิงล้านซึ่งเป็นคำถามทายใจมาเป็นเกมเปิดป้าย โดยกติกามีอยู่ว่ามีแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกันโดยถ้าเปิดเป็นเลข 0 ซึ่งจะมี 6 แผ่นป้ายป้ายละ 10,000 บาท แต่ถ้าเจอป้ายรูปหม่ำ จ๊กมก ที่มีรูปผู้สนับสนุนรายการทั้ง 3 ป้ายที่มีเงินรางวัล 20,000 บาท แต่อีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าเปิดป้ายเลข 0 หรือรูปหม่ำ จ๊กมกครบทั้ง 6 ป้าย จะได้เงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยเงินรางวัลนั้นจะถูกแบ่งเป็นเงินรางวัล 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัลซึ่งเป็นฉลากชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการ ที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง
เกมเปิดป้ายชิงเงินล้านนี้ ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน (ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) โดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกติกาของเกมเลย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้งในยุค ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ในช่วงปลายปี 2549

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ตั้งแต่ในปี 2536 นั้นจะมี 2 ทีมต่อสัปดาห์ด้วยกันโดยทางรายการจะเชิญดาราชายและดาราหญิง 2 คนโดยจะแบ่งเป็นทีมชายและทีมหญิงและในปี 2537 นั้นถูกปรับเพิ่มจากทีมละ 2 คนเป็น 3 คนต่อทีมในแต่ละสัปดาห์และในแต่ละทีมจะต้องใช้ชื่อทีมด้วย

เกร็ดข้อมูล

  • ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นเป็นยุคที่ไม่มีการ Jackpot แตกอย่างใด
  • ชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั้นถูกใช้ชื่อได้น้อยที่สุดรวมเวลา 8 เดือน 17 วัน