ชิงร้อยชิงล้าน รายการโทรทัศน์ที่วันรุ่นนิยมดูมากที่สุด

วัยรุ่นเป็นวัยที่ตื่นตัวและพร้อมรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การที่จะส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นจำเป็นต้องเข้าใจถึงทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ของวัยรุ่นอย่างถูกต้องชัดเจน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่องสุดยอดความนิยมของวัยรุ่นขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 – 21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2552

รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
รายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7)
ร้อยละ 20.3
รายการตีสิบ (ช่อง 3)
ร้อยละ 8.0
ละครเป็นต่อ (ช่อง 3)
ร้อยละ 6.9
รายการบางจะเกร็ง (ช่อง 5)
ร้อยละ 4.3
รายการสาระแนโชว์ (ช่อง 5)
ร้อยละ 3.6

รายการชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งสิ้น 5 ชื่อ โดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน ไว้เสมอ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

2.ชิงร้ิอยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

3.ชิงร้ิอยชิงล้าน Super Game

4.ชิงร้ิอยชิงล้าน Cha Cha Cha

5.ชิงร้ิอยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก



ขอขอบคุณ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา กรุงเทพโพลล์ และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม

ประวัติ

หลังจากชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตจบลง ชิงร้อยชิงล้านก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่ในชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game โดยปรับปรุงฉากใหม่และรูปแบบรายการที่น่าสนุกยิ่งขึ้นพร้อมเพิ่มระยะเวลาใน การออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมงนับเป็นรายการเกมโชว์แรกในเมืองไทยที่ออกอากาศถึง 2 ชั่วโมงและเอกลักษณ์ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game คือตัว G (2539 จะเป็นสีแดง 2540 จะเป็นสีเขียว)

เกมในชิงร้อยชิงล้าน Super Game

ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game ได้ปรับปรุงเกมจากยุคต่างๆทั้งหมดและได้เพิ่มเกมอีก 2 เกม

ทายดาราปริศนา

ในเกมนี้เป็นการทายดารารับเชิญของรายการซึ่งให้ผู้เข้าแข่งขันให้ทายซึ่ง ในเกมนี้จะมีโอกาสตอบในกระดานทั้ง 3 รอบด้วยกันโดย 3 รอบนั้นก็คือ
  1. รอบที่ 1 จะเป็นการ ทายเสียงและเงา (เสียงของใคร) จะเป็นการทายเสียงและเงาของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้มีพัฒนามาจากเกมทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) เป็น 3 ภาพ 3 ช่วงเวลา สำหรับเกมทายเสียงและเงาของดารารับเชิญนั้นโดยให้ผู้เข้าแข่งขันต้องฟัง เสียงและดูเงาว่าดารารับเชิญคนนั้นเป็นใคร
  2. รอบที่ 2 จะเป็นการ ทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) จะเป็นการทายภาพรูปภาพต่าง ๆ ของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 จะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญในอดีตเป็นแบบ 3 ภาพ 3 ช่วงเวลาว่าดารารับเชิญคนนี้เป็นใคร โดยพิธีกรให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบ ซึ่งให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบได้ 3 คำตอบเท่านั้น หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยการเชิญดารารับเชิญออกมาโชว์ร้องเพลงว่าคน นี้เป็นใคร ถ้าผู้เข้าแข่งขันทีมใดเขียนคำตอบถูกมากที่สุดจะได้คะแนนไป เกมนี้มีในชิงร้อยชิงล้าน Super Game (ตั้งแต่ 3 มกราคม 2539 ถึง ปลายปี 2539) ส่วนแบบที่ 2 นั้นจะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญโดยในภาพนี้จะเป็นการปกปิดใบหน้าบางส่วน ของดารารับเชิญ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตจับจุดใบหน้าของดารารับเชิญให้ดีว่าคน นี้เป็นใคร
  3. รอบที่ 3 จะเป็นรอบ ขอสักครั้ง จะเป็นภาพ VTR โดยที่ผู้เข้าแข่งขันนั้นไม่สามารถเห็นหน้าของดารารับเชิญชัดๆ ได้ ดารารับเชิญนั้นจะทำแบบไม่เห็นหน้าหรือบังหน้าเอาไว้ด้วย เห็นได้แต่ด้านหลังดารารับเชิญเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตหน้าตาของดารารับเชิญไว้ให้ดีว่าคนนี้ เป็นใคร
ทั้งนี้ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 มีโอกาสเขียนในกระดานคำตอบได้ 3 ครั้งเท่านั้นหลังจะเฉลยว่าดารารับเชิญคนนี้คือใครโดยการเชิญดารารับเชิญออก มาโชว์ร้องเพลงว่าคนนี้เป็นใครโดยถ้าตอบถูกในแต่ละรอบจะได้คะแนนไปด้วย หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดารารับเชิญเกี่ยวกับความเป็นมาและเรื่องราวต่างหลังจาก นั้น ยังมีหม่ำ จ๊กมก, เอ๊ดดี้ ผีน่ารัก และ เท่ง เถิดเทิง มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย

จริงหรือไม่

เกมจริงหรือไม่ ซึ่งเกมนี้ เป็นการนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันใน เกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย โดยเรื่องราวเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เป็นเกมการแข่งขันในรูปแบบตอบคำถาม โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามอีกสองทีมที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้ 10 คะแนน แต่ถ้าตอบผิด จะไม่ได้คะแนน
ทั้งนี้ คำถามในเกมจริงหรือไม่ ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game จะถูกลดเหลือ 3 ข้อ จากเดิม 8 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบคำถามทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน และให้ทายว่าเรื่องคนนั้นเป็นของใครในทีมของเข้าของเรื่อง โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมีหม่ำ จ๊กมก, เอ๊ดดี้ ผีน่ารัก และ เท่ง เถิดเทิง มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยการล้อเลียนดารารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องในช่วงนั้นๆ

รอบสะสมเงินรางวัล

สำหรับช่วงรอบสะสมเงินรางวัลนั้นจะมี 2 รอบด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย

ถังแตก

ในเกมถังแตกจะมีแผ่นป้ายทั้ง 14 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายที่มีผู้สนับสนุนในช่วงเกมนี้ 10 แผ่นป้ายซึ่ง 10 แผ่นป้ายนั้นเป็นแผ่นป้ายตัวเลข 10000 หมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท โดยป้ายเป็นตัวเลข 10,000 และป้ายถังแตกอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 หรือป้ายผู้สนับสนุนรายการครบทั้ง 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนในเกม ป้ายต่อไปเป็นถังแตก แปลว่าหยุดเกมลงทันทีและเงินรางวัลที่เปิดป้ายนั้นรวบรวมตามจำนวนที่เปิด ป้ายได้แต่กรณีที่เปิดป้ายถังแตกก่อนป้ายต่อไปเปิดป้ายเป็นเงิน 10,000 บาท ถือว่าหยุดเช่นกันและพร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาทไปด้วย
สำหรับเกมถังแตกถูกใช้ในปี 2539 จนถึงยุคทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ซึ่งเกมนี้อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมาถึง 13 ปี 3 ยุคโดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกติกาของเกมเลย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้งในยุค ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ในช่วงปลายปี 2549 และถูกยกเลิกในปี 2552

ทีวีปิดทีวีเปิด

เกมนี้เป็นการเปิดป้ายจับคู่โทรทัศน์สียี่ห้อโกลด์สตาร์ ซึ่งเกมกติกานี้เป็นการจับคู่โทรทัศน์สีแบบปิดและเปิด ถ้าเป็นโทรทัศน์สีแบบปิดจะเป็นหน้าจอสีฟ้าล้วน ๆ แต่ถ้าเป็นโทรทัศน์สีแบบเปิดในหน้าจอจะเป็นรูปภาพตั๊ก มยุรา ถือป้าย 0 อยู่ โดยในแผ่นป้ายจะมีทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ให้เลือกแผ่นป้ายทั้งหมด 8 แผ่นป้ายจาก 12 แผ่นป้าย ซึ่งแผ่นป้ายที่เลือกนั้น จะให้วางเป็นคู่ ๆ แต่ละป้ายคู่จะต้องจับคู่โทรทัศน์สีให้เหมือนกัน ถ้าป้ายคู่ใดจับคู่โทรทัศน์สีถูกคู่จะได้เงินรางวัลคู่ละ 10,000 บาท แต่ในเกมนี้กำหนดให้จับคู่ที่เป็นโทรทัศน์สีแบบปิดเป็น 3 คู่เท่านั้น เพราะถ้าจับคู่โทรทัศน์สีแบบปิดเป็น 3 คู่ใน 4 คู่ จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันที ต่อมาเปลี่ยนเป็น โกลด์เดนอาย ซึ่งเป็นของ แอลจี เช่นกัน กติกาเหมือนเดิม รูปโทรทัศน์เปิดจะเป็นรูปตาของผู้หญิง 2 ข้าง กับป้ายรูปโทรทัศน์ปิด จะเป็นหน้าจอมืดๆสีดำ
และเมื่อช่วงปี 2541 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Chaเป็นจับคู่กระแฟกระป๋องเบอร์ดี้ รสมิลค์กี้กับรสโรบัสต้า ซึ่งในแผ่นป้ายนั้นจะมีรสชาติทั้ง 2 อย่างละ 3 ป้ายด้วยกันแต่การให้เงินรางวัลนั้นเหมือนกับเกมทีวีปิดทีวีเปิดอยู่ทุก ประการ

รอบตัดสิน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot โดยจะมี 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของปัญญา และ มยุรา ซึ่งเป็นพิธีกรในรายการ และป้ายรูปใบหน้าหม่ำ โดยถ้าเจอป้ายปัญญาแปลว่าได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนส่วนป้ายมยุรา หากเปิดได้ จะถือว่าเข้ารอบทันที (มีค่า 10 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่ค่าของคะแนนสามารถชนะป้ายอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้ายปัญญาด้วย) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันที ไม่ว่าจะเปิดได้อะไรก็ตาม) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่ และ ทายดาราปริศนาด้วย ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมทั้ง 2 เกมได้มากที่สุด จะได้เลือก 3 แผ่นป้าย ส่วนอีกสองทีมหรือหนึ่งทีมจะได้เลือกเปิด 2 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสามทีมจะได้เลือกเปิดคนละ 2 แผ่นป้ายเท่านั้น) แต่ถ้าเจอป้ายปัญญามยุราและหม่ำทั้ง 3 ป้าย หรือเฉพาะป้ายปัญญาและมยุราครบ 2 ป้าย จะได้เงินรางวัล 100,000 บาท ผู้ที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันทีและได้เงินรางวัลจากการ เปิดป้ายของรอบสะสมเงินรางวัล แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่มีสิทธิ์เปิดแผ่นป้ายมากที่สุดจะเข้ารอบ นอกจากนี้ ถ้าผู้เข้าแข่งขันที่มีสิทธิ์เปิดได้ 2 หรือ 3 แผ่นป้าย เปิดได้จำนวนเลขรวมกันเท่ากับ 10 โดยที่ไม่เกิน 10 และป้ายปัญญา-มยุราก็จะได้รับแพคเกจทัวร์เดินทางไปยัง ประเทศจีน จากบริษัทนำเที่ยววีคเอนด์ ทัวร์ อีกด้วย
เกมเปิดป้ายคะแนนของชิงร้อยชิงล้าน Super Game ได้ปรับเปลี่ยนเป็นทีมผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดได้เปิดป้าย 3 แผ่นป้าย (แต่เดิมมี 2 ป้าย) ส่วนทีมผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะเปิด 2 แผ่นป้าย (เดิมเพียงป้ายเดียว) และป้ายหม่ำซึ่งเป็นป้ายตกรอบนั้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นป้าย 0 คะแนนแทน (แต่เมื่อเปิดป้ายมยุราก็สามารถเข้ารอบได้เช่นกัน) อย่างไรก็ดีตั้งแต่กลางปี 2540 ได้ใช้กฏกติกาเกมเปิดป้ายคะแนนแบบเดียวกับยุค Top Secret, ครั้งหนึ่งในชีวิต อยู่เหมือนเดิม

รอบสุดท้าย

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้น ในช่วงแรกจะมีแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกันโดยมีป้ายเลข 0 จะมี 6 แผ่นป้ายส่วนป้ายผู้สนับสนุน (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ช่วงปี 2539-2540 คือ  แป้งเย็นตรางู,ง่วนเชียงและช่วงปี 2540-2541 คือสุรายี่ห้อวีโอ ซึ่งจะมีตัวเลข 20000 และ 10000 ซึ่งเป็นมีเงินรางวัล 20,000 และ 10,000 บาทอย่างละ 3 แผ่นป้าย
ต่อมาในช่วงกลางปี 2540 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเดิมคือใช้ 12 แผ่นป้ายเลข 0 อยู่ 6 ป้ายและป้ายผู้สนับสนุนมี 6 แผ่นป้ายโดยป้ายที่มีตัวเลข 20000 ซึ่งเป็นเงินรางวัล 20,000 บาทอยู่ 3 แผ่นป้าย และอีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่า แต่ถ้าเปิดป้าย 0 หรือสปอนเซอร์หลักครบทั้ง 6 ป้าย จะได้เงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะให้คนละ 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัลซึ่งเป็นฉลากชิ้น ส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้นจะมีทีมอยู่ 3 ทีมต่อสัปดาห์ แต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนซึ่งในแต่ละสัปดาห์ทางรายการจะเชิญผู้เข้าแข่งขันชายและผู้เข้าแข่งขัน หญิงโดยแต่ละสัปดาห์จะมีทีมชาย 2 ทีมทีมหญิง 1 ทีมหรือทีมชาย 1 ทีมทีมหญิง 2 ทีมเว้นสัปดาห์

เกร็ดข้อมูล

  • ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game มีผู้ที่ทำ Jackpot แตกทั้งหมด 3 ครั้งคือ
    • ล้านที่ 10 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ โก้ ธีระศักดิ์ พันธุจริยาและสุรวุฑ  ไหมกันทำล้านแตกในรอบสะสมเงินรางวัล
    • ล้านที่ 11 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ พล ตัณฑเสถียร และอัษฏาวุธ เหลืองสุนทร ทำล้านแตกในรอบสุดท้าย
    • ล้านที่ 12 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ จาตุรงค์ มกจ๊ก และเหลือเฟือ มกจ๊ก ทำล้านแตกในรอบสะสมเงินรางวัล