ประวัติ
หลังจากชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ออกอากาศยาวนานถึง 10 ปีชิงร้อยชิงล้านได้ปรับเปลี่ยนชื่อรูปแบบใหม่มาใช้ชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก โดยเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของการเป็นพิธีกรของ มยุรา เศวตศิลา แต่ฉาก, เกมและองค์ประกอบรูปแบบต่างๆยังคงใช้ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ในปี 2545 อยู่เช่นเดิมหมายเหตุ:ที่มาของชื่อ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก นั้นมาจากตั๊ก มยุราที่เป็นพิธีกรมาถึง 20 ปี ไม่ใช่ระยะเวลาการออกอากาศของชิงร้อยชิงล้านแต่อย่างใด
เกมในชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก
ในเกมชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กนั้นยังคงใช้รูปแบบเดียวกับ ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ทว่าได้มีการปรับกติกาบ้างในบางเกม และเพิ่มเกมใหม่เข้าไปด้วยทำได้หรือไม่ได้
ในช่วงเกมทำได้หรือไม่ได้นั้นจะเป็นการแข่งขันของแก๊งสามช่า หลังจากที่ผู้กล้านั้นได้โชว์สาธิตเต็ม ๆ ในรายการแล้ว ก็ให้ทายว่าแก๊งสามช่าทำได้หรือไม่ได้ ซึ่งเกมการแข่งขันของแก๊งสามช่านี้จะมีเกมกติกาถึง 2 ครั้ง และเวลาก็ต่อเพิ่มให้หลังจากที่ผู้กล้าได้ทำเวลาไว้ ในตอนนั้นเกมการแข่งขันของแก๊งสามช่าจะมีเกมกติกากำหนดครั้งแรก 1 คน และ ครั้งที่สอง 2 คนหรือ 3 คนล่าสุดมีเพิ่ม ท็อฟฟี่ ตลกหกฉาก (ตั้งแต่ 12 มีนาคม 2551 ถึง 28 พฤษภาคม 2551) เข้ามาแข่งขันด้วย ในเกมการแข่งขันนี้แล้วแต่กรณีว่าจะแข่งกันแบบไหน บางครั้งส่วนใหญ่การแข่งขันกับเวลานั้น อาจจะให้ครั้งแรก 2 คน ครั้งที่สอง 3 คน ส่วนน้อยก็มีครั้งแรก 2 คน ครั้งที่สอง 2 คน หรือไม่ก็ ครั้งแรก 3 คน ครั้งที่สอง 3 คน และล่าสุดเกมการแข่งขันนี้อาจจะให้ครั้งแรก 2 คน ครั้งที่สอง 4 คน, ครั้งแรก 3 คน ครั้งที่สอง 4 คน หรือ ครั้งแรก 4 คน ครั้งที่สอง 4 คนก็ได้แล้วแต่กรณีใครทำได้
ในเกมใครทำได้เป็นเกมเฉพาะกิจโดยเกมนี้แก๊งสามช่าต้องท้ากันเองโดยที่ไม่ มีผู้กล้าโดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายว่าใครทำได้โดยที่มีคะแนนสถิติมากกว่า คนอื่นๆถ้าทายถูกก็จะได้คะแนนแต่เมื่อผู้เข้าแข่งขันทายว่าหนึ่งในแก๊งสาม ช่าทำคะแนนเสมอกันและอยู่ในอันดับสูงผู้เข้าแข่งขันที่ทายนั้นก็จะได้คะแนน เช่นกันโดยเกมนี้ถูกเริ่มใช้วันที่ 15 ตุลาคม 2551 จนถึง 28 เมษายน 2552- รายชื่อเกมและสถิติต่างๆที่ให้แก๊งสามช่าแข่งกันเองได้แก่และแข่งกันเองทั้งหมด 12 ครั้ง
วันที่ | ท้าแข่ง | อันดับ 1 | อันดับ 2 | อันดับ 3 |
---|---|---|---|---|
15 ตุลาคม 2551 | ดื่มน้ำอัดลม | เท่ง | โหน่ง | หม่ำ |
5 พฤศจิกายน 2551 | ขี่เครื่องเล่นวัวพยศ | เท่ง | โหน่ง | หม่ำ |
10 ธันวาคม 2551 | ต่อยมวยยางยืด | โหน่ง | หม่ำ | เท่ง |
17 ธันวาคม 2551 | ปิดตาเตะฟุตบอล | โหน่ง | หม่ำกับเท่ง | |
28 มกราคม 2552 | กินน้ำปั่นนั่งในถังน้ำแข็ง | เท่ง | หม่ำ | โหน่ง |
4 กุมภาพันธ์ 2552 | ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายทำลูกโป่งแตก | หม่ำ | เท่ง | โหน่ง |
11 กุมภาพันธ์ 2552 | ม้วนตัวเตะฟุตบอล | โหน่งกับหม่ำ | เท่ง | |
25 กุมภาพันธ์ 2552 | ไม้หนีบบนใบหน้า | โหน่ง 44 อัน | เท่ง 42 อัน | หม่ำ 39 อัน |
4 มีนาคม 2552 | วาดภาพให้เด็กดู | เท่ง | โหน่ง | หม่ำ |
7 เมษายน 2552 | พ่นน้ำดับเทียน | หม่ำ | เท่ง | โหน่ง |
14 เมษายน 2552 | ฉีดน้ำสงกรานต์ | เท่ง | โหน่ง | หม่ำ |
28 เมษายน 2552 | ทานคุกกี้บนหน้า | โหน่ง | เท่ง | หม่ำ |
5 พฤษภาคม 2552 | ชู้ตบาสพิสดาร | หม่ำ,เท่ง,โหน่ง |
ใครกันหนอ
ในช่วงเกมใครกันหนอนั้นมีเป็นเรื่องราวประสบการณ์ของดาราคนนั้นๆ โดยพิธีกรจะเชิญดารา 3 ท่าน หรือที่เราเรียกว่า "สามช่ารับเชิญ" มาโชว์ร้องเพลงก่อน แล้วมาเข้าสู่เกมคำถามทันทีในข้อแรกเป็นเรื่องของเจ้าของเรื่องนี้โดยให้ผู้เข้าแข่งขันทายว่าเจ้า ของเรื่องนี้เป็นของใครหลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยให้ดาราที่เป็นสาม ช่ารับเชิญที่ยืนอยู่บนเวทีแล้วพิธีกรจะถามว่าใครเป็นเจ้าของเรื่องนี้ หลังจากนั้นก็ให้ดาราใครคนใดคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของเรื่องนี้ลงมาจากเวที นั่นหมายความว่าถ้าดาราใครคนใดคนหนึ่งที่ลงจากเวทีนั้น นั่นคือคำตอบที่ถูกต้องและเป็นเจ้าของเรื่องนี้นั่นเองส่วนผู้เข้าแข่งขัน ที่ตอบถูกจะได้คะแนนไปและพร้อมกับให้ดาราเจ้าของเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ดาราเล่าประสบการณ์จบเรียบร้อยแล้ว พิธีกรจะเชิญหม่ำ,เท่ง และ โหน่ง ออกมาสร้างสีสันโดยการโชว์แสดงตลกให้ท่านผู้ชมได้สนุกสนานกัน
ส่วนข้อสุดท้ายของเกมนี้จะเป็นเรื่องราวประสบการณ์เรื่องผีวิญญาณของดารา เจ้าของเรื่องมาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจะมี หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง ออกมาด้วย และวิเคราะห์เรื่องประสบการณ์ของดาราเจ้าของเรื่องมากน้อยเพียงใดพร้อมกับ ว่าจะให้รางวัลกี่กะโหลกที่ดาราเจ้าของเรื่องนั้น บางครั้งส่วนใหญ่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง จะให้รางวัลแค่ 4 กะโหลก
แต่ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นสัปดาห์สุดท้ายกับการเล่าเรื่องเรื่องประสบการณ์วิญญาณก่อนจะมาปรับ เปลี่ยนข้อคำถามเป็นเรื่องราวความแปลก เรื่องราวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน/ไม่เคยเห็นมาก่อน เรื่องราวปาฏิหาริย์ ของดาราเจ้าของเรื่องหลังจากที่ดาราเล่าประสบการณ์จบเรียบร้อยแล้ว พิธีกรจะเชิญตุ๊กกี้ออกมาสร้างสีสันโดยการโชว์แสดงตลกให้ท่านผู้ชมได้สนุก สนานกันและปรับเปลี่ยนให้รางวัลแก่เจ้าของเรื่องจากถ้วยกะโหลกเป็นเกียรติ บัตรเรื่องแปลกแทน
รอบสะสมเงินรางวัล
ในชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้เซ็นจูรี่ ตั๊กนั้นยังคงรูปแบบมาจากชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ทว่าได้มีการปรับกติกาบ้างในบางเกม และเพิ่มเกมใหม่เข้าไปด้วยโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่ เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วยถังแตก
ในเกมถังแตกจะต้องทำการเปิดแผ่นป้ายเพื่อสะสมเงินรางวัล ทั้งนี้ มีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งออกเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนในช่วงนี้ (เป็นโลโก้กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) 6 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายผู้สนับสนุนที่มีสัญลักษณ์รูป ถังแตก อีก 6 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งมีมูลค่าแผ่นป้ายละ 10,000 บาท ให้ได้ครบ 6 แผ่นป้าย ซึ่งถ้าทำได้ จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้ายถังแตก เกมจะหยุดลงทันที และผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเงินรางวัลเท่าที่สะสมมาเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายผู้ สนับสนุนที่เปิดได้ แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายถังแตกเป็นป้ายแรก ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ลุ้นยิ้มลุ้นโชค
ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2552 เกมถังแตกได้ยกเลิกเปลี่ยนมาเป็นเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชค ในเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคนั้น จะมีแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้าย จะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง โดยแผ่นป้ายรูปใบหน้าที่ยิ้มและใบหน้าที่เศร้าซึ่งจะมีอยู่ 6 แผ่นป้ายด้วยกันโดยเปิดป้ายใบหน้าของสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มจะได้เงิน รางวัลสะสม 10,000 บาทแต่ถ้าเปิดเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เศร้าเกมจะหยุดลงทันทีทั้งนี้เมื่อ เปิดป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มครบทั้ง 6 แผ่นป้ายจะได้เงินรางวัลสะสม 100,000 บาททันทีเป่ายิ้งฉุบ
ในเกมนี้เป็นเกมเป่ายิ้งฉุบ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นมือรูปค้อน 4 แผ่นป้าย, มือรูปกระดาษ 4 แผ่นป้าย และมือรูปกรรไกร 4 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการเลือกแผ่นป้ายมา 6 แผ่นป้าย และวางในตำแหน่งที่ได้จัดไว้ จากนั้นจะต้องเปิดแผ่นป้ายให้ได้รูปมือสัญลักษณ์ที่สามารถชนะแผ่นป้ายรูปมือ ที่ติดไว้ด้านบนได้ โดยอ้างอิงจากกติกาของเกมเป่ายิ้งฉุบ (เช่นหากแผ่นป้ายด้านบนเป็นค้อน แผ่นป้ายล่างต้องเปิดให้ได้กระดาษ เป็นต้น) ถ้าหากสามารถเปิดแผ่นป้ายแล้วชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ จะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากผลออกมาเสมอ (เปิดแผ่นป้ายได้เหมือนกับด้านบน) หรือผลออกมาแพ้ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสม หากสามารถเป่ายิ้งฉุบชนะได้ครบทั้ง 6 ครั้ง หรือในอีกนัยหนึ่ง หากสามารถเปิดแผ่นป้ายชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาทรอบตัดสิน
ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot โดยจะมี 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของปัญญา และ มยุรา ซึ่งเป็นพิธีกรในรายการ และป้ายรูปใบหน้าหม่ำ โดยถ้าเจอป้ายปัญญาแปลว่าได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนส่วนป้ายมยุรา หากเปิดได้ จะถือว่าเข้ารอบทันที (มีค่า 10 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่ค่าของคะแนนสามารถชนะป้ายอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้ายปัญญาด้วย) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันที ไม่ว่าจะเปิดได้อะไรก็ตาม)ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมทำได้หรือไม่ได้ และ เกมใครกันหนอ โดยมีหลักดังต่อไปนี้
- ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้เล่นที่มีคะแนนมากกว่ามีสิทธิ์เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เล่นที่มีคะแนน้อยกว่าได้เลือก 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ถือว่าตกรอบโดยอัตโนมัติ
- ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยกว่าสองคนดังกล่าว ถือว่าตกรอบเช่นกัน
- ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่เหลือ จะได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย
- ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เลือกคนละ 1 แผ่นป้ายทุกคน
รอบสุดท้าย
รอบ Jackpot ของชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กนั้นในช่วงแรกจะมีแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกันโดยมีแผ่นป้ายโลโก้ผู้สนับสนุน (ผู้สนับสนุนหลักคือ แม่ครัวฉลากทอง (2 เมษายน 2551 - 25 มีนาคม 2552) ) จำนวน 6 แผ่นป้าย และป้ายเลข 0 ซึ่งเป็นป้ายเปล่า จำนวน 6 แผ่นป้าย หากเปิดได้แผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ จะได้รับเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอป้ายเลข 0 จะไม่ได้รับเงินรางวัล ทั้งนี้ หากสามารถเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัล ซึ่งเป็นฉลากชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่น เองอย่างไรก็ดี ในวันที่ 1 เมษายน 2552 ปรากฏว่าทางรายการได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าพานาโซนิค และได้มีการเปลี่ยนกติการอบนี้ใหม่ด้วย กล่าวคือ มีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายรูปโลกยิ้ม ซึ่งมีมูลค่าแผ่นป้ายละ 10,000 บาท จำนวน 6 แผ่นป้าย และป้ายเลข 0 ซึ่งถือเป็นป้ายเปล่าจำนวน 6 แผ่นป้าย ทว่าหลักกติกายังคงเป็นเหมือนเช่นเดิมแต่จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน
รายชื่อพิธีกรชายรับเชิญคู่กับมยุรา เศวตศิลา ในชิงร้อยชิงล้านทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก
ในทุกสัปดาห์จะมีพิธีกรชายร่วมรายการจำนวน 1 หรือ 2 คน โดยได้เป็นพิธีกรร่วมกับมยุรา เศวตศิลา แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายพิธีกรชายรับเชิญ 100 คน จึงยุติพิธีกรรับเชิญของ ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก และถือเป็นการสิ้นสุดของยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ไปด้วยเทปที่ | วันที่ออกอากาศ | พิธีกรรับเชิญ | |
---|---|---|---|
1 | 2 เมษายน 2551 | จาตุรงค์ มกจ๊ก โก๊ะตี๋ อารามบอย | |
2 | 9 เมษายน 2551 | เจตริน วรรธนะสิน | |
3 | 16 เมษายน 2551 | นวพล ภูวดล วัชรบูล ลี้สุวรรณ | |
4 | 23 เมษายน 2551 | ศรัณยู วงศ์กระจ่าง | |
5 | 30 เมษายน 2551 | เทพ โพธิ์งาม เด๋อ ดอกสะเดา | |
6 | 7 พฤษภาคม 2551 | คชาภา ตันเจริญ (ครั้งที่ 1) กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ (ครั้งที่ 1) | |
7 | 14 พฤษภาคม 2551 | พีท ทองเจือ | |
8 | 21 พฤษภาคม 2551 | นาคร ศิลาชัย | |
9 | 28 พฤษภาคม 2551 | ธวัชชัย สัจจกุล | |
10 | 4 มิถุนายน 2551 | สุประวัติ ปัทมสูต | |
11 | 18 มิถุนายน 2551 | ยุทธนา บุญอ้อม | |
12 | 25 มิถุนายน 2551 | ศรราม เทพพิทักษ์ | |
13 | 2 กรกฎาคม 2551 | ประกาศิต โบสุวรรณ | |
14 | 9 กรกฎาคม 2551 | พิษณุ นิ่มสกุล (ครั้งที่ 1) | |
15 | 16 กรกฎาคม 2551 | เศรษฐา ศิระฉายา | |
16 | 23 กรกฎาคม 2551 | เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | |
17 | 30 กรกฎาคม 2551 | (ดีเจ พีเค) ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร | |
18 | 6 สิงหาคม 2551 | สมพล ปิยะพงศ์สิริ | |
19 | 13 สิงหาคม 2551 | ยุรนันท์ ภมรมนตรี | |
20 | 20 สิงหาคม 2551 | พิษณุ นิลกลัด | |
21 | 27 สิงหาคม 2551 | อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร | |
22 | 3 กันยายน 2551 | แทนคุณ จิตต์อิสระ (ครั้งที่ 1) | |
23 | 10 กันยายน 2551 | ภูมิใจ ตั้งสง่า | |
24 | 17 กันยายน 2551 | วราวุธ เจนธนากุล | |
25 | 24 กันยายน 2551 | ภัทรพล ศิลปาจารย์ (ครั้งที่ 1) | |
26 | 1 ตุลาคม 2551 | ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ (ครั้งที่ 1) | |
27 | 8 ตุลาคม 2551 | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ครั้งที่ 1) | |
28 | 15 ตุลาคม 2551 | ทิน โชคกมลกิจ | |
29 | 22 ตุลาคม 2551 | เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ | |
30 | 29 ตุลาคม 2551 | มอริส เค | |
31 | 5 พฤศจิกายน 2551 | แทนคุณ จิตต์อิสระ (ครั้งที่ 2) | |
32 33 | 12 พฤศจิกายน 2551 19 พฤศจิกายน 2551 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน สตาร์เมมโมรี่ (ไม่มีพิธีกรชายรับเชิญ) | |
34 | 26 พฤศจิกายน 2551 | สวิช เพชรวิเศษศิริ | |
35 | 3 ธันวาคม 2551 | (ซูโม่กิ๊ก) เกียรติ กิจเจริญ | |
36 | 10 ธันวาคม 2551 | วรรธนะ กัมธรทิพย์ | |
37 | 17 ธันวาคม 2551 | ธงชัย ประสงค์สันติ | |
38 | 24 ธันวาคม 2551 | เทปพิเศษในรายการ จัดงานชื่อว่า มยุรา ปาร์ตี้ไนท์ (ไม่มีพิธีกรชายรับเชิญ) | |
39 | 7 มกราคม 2552 | เทปพิเศษในรายการ จัดงานชื่อว่า เซ็นจูรี่ แฮปปี้เนส (ไม่มีพิธีกรชายรับเชิญ) | |
40 | 14 มกราคม 2552 | เทปพิเศษในรายการ จัดงานชื่อว่า มยุรา มหาสนุก (ไม่มีพิธีกรชายรับเชิญ) | |
41 | 21 มกราคม 2552 | แอนดี้ เขมพิมุก | |
43 | 28 มกราคม 2552 | เบญจพล เชยอรุณ | |
44 | 4 กุมภาพันธ์ 2552 | ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ | |
45 | 11 กุมภาพันธ์ 2552 | สันติสุข พรหมศิริ | |
46 | 18 กุมภาพันธ์ 2552 | คชาภา ตันเจริญ (ครั้งที่ 2) | |
47 | 25 กุมภาพันธ์ 2552 | โน้ต เชิญยิ้ม | |
48 | 4 มีนาคม 2552 | กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ (ครั้งที่ 2) | |
49 | 11 มีนาคม 2552 | ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม (สังข์ 108 มงกุฎ) | |
50 | 18 มีนาคม 2552 | พิษณุ นิ่มสกุล (ครั้งที่ 2) | |
51 | 25 มีนาคม 2552 | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ครั้งที่ 2) | |
52 | 1 เมษายน 2552 | ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ (ครั้งที่ 2) | |
53 | 7 เมษายน 2552 | ภัทรพล ศิลปาจารย์ (ครั้งที่ 2) |
จำนวนพิธีกรชายรับเชิญ (ถึง 7 เมษายน 2552) | พิธีกรชายรับเชิญที่ร่วมรายการมากกว่า 1 ครั้ง | จำนวนเทปพิเศษ |
---|---|---|
44 | 7 | 5 |
ผู้เข้าแข่งขัน
ในชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้เซ็นจูรี่ ตั๊กนั้นจะมีอยู่ 3 คนต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกัน ในกรณีที่ทางรายการจะเชิญดารานักแสดงชาย 2 คนและหญิง 1 คน ในสัปดาห์ต่อไปจะเชิญดารานักแสดงหญิง 2 คนและดารานักแสดงชาย 1 คน สลับกันสัปดาห์เว้นสัปดาห์เกร็ดข้อมูล
- พิธีกรรับเชิญในชิงร้อยชิงล้านทเวนตี้เซ็นจูรี่ ตั๊ก นั้นเคยมาเล่นเกมชิงร้อยชิงล้านมาแล้วเช่น
-
- ศรราม เทพพิทักษ์ (ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต) เล่นเกมร่วมกับ กวินนา สุวรรณประทีปและเคยร่วมทีม "ขอหมอนให้สมชาย" ร่วมกับ สมชาย เข็มกลัด และ ปราโมทย์ แสงศร
- ยุรนันท์ ภมรมนตรี (ชิงร้อยชิงล้าน) เล่นเกมร่วมกับ เรณู ภมรมนตรี มารดา
- เด๋อ ดอกสะเดา (ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) เล่นเกมร่วมกับ วิทวัส สุนทรวิเนตร, ภราดร ทวีวัฒนาสมบูรณ์
- พิษณุ นิลกลัด (ชิงร้อยชิงล้าน) เล่นเกมร่วมกับ เอกชัย นพจินดา
- โน้ต เชิญยิ้ม (ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret, ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต, ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha, ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) เล่นเกมร่วมกับ เป็ด เชิญยิ้ม (2 ครั้ง) และเคยร่วมทีมกับ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และ อ.จตุพล ชมภูนิช
- อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) เล่นเกมร่วมกับ พล ตัณฑเสถียร
- จาตุรงค์ มกจ๊ก (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game, ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha) เล่นเกมร่วมกับ เต่า เชิญยิ้ม, เหลือเฟือ มกจ๊ก (ครั้งที่ 2)
- โก๊ะตี๋ อารามบอย (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game, ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha) เล่นเกมร่วมกับ อัษฎา พานิชกุล
- เจตริน วรรธนะสิน (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) เล่นเกมร่วมกับ ชาลี พุ่มดอกมะลิ
- มอริส เค (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) เล่นเกมร่วมกับ เอกรัตน์ สารสุข
- เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ (ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha, ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต) เล่นเกมร่วมกับ รวิชญ์ เทิดวงศ์ และเคยร่วมทีมกับลิฟท์-ออย ในทีม "ได้เวลา...เจมส์" เมื่อปี 2538
- เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game, ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha) เล่นเกมร่วมกับ ติ๊ก กลิ่นสี
- ธงชัย ประสงค์สันติ (ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) เล่นเกมร่วมกับ มณีรัตน์ ประสงค์สันติ,บริบูรณ์ จันทร์เรือง
- พิษณุ นิ่มสกุล (บอย AF2) (ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)
- กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ (ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha, ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)
- คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) (ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha)
- ภูมิใจ ตั้งสง่า (วีเจภูมิ) (ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha)
- เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (น้าเน็ค) (ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha)
- ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการเชิญ ทาคาโนริ นิชิซาวะ หรือในชื่อว่า T.M. Revolution มาร่วมรายการและร่วมเล่นละครแก๊งสามช่าอีกด้วย
- ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 ได้มาร่วมแสดงลำตัดในละครสามช่า
- รายการชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก เทปที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่มีเกียรติ กิจเจริญ หรือ ซูโม่กิ๊ก ซึ่งเป็นพิธีกรรายการรับเชิญนั้น ถือว่าเป็นการได้เผชิญหน้าเจอกันอีกครั้งหนึ่ง กับหม่ำ จ๊กมก ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกแก๊งสามช่าในปัจจุบัน โดยทั้ง 2 คนนั้น เป็นอดีตผู้ดำเนินรายการเวทีทองมาก่อน หลังจากไม่ได้เจอกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปี
- ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ เคยเป็นพิธีกรร่วมกับมยุราและโหน่ง ชะชะช่า ในรายการเกมจารชน และเป็นพิธีกรในชิงร้อยชิงล้านเทปพิเศษ ชิงล้าน ชิงร้อยล้าน เมื่อปี 2550 อีกด้วย
- ตั้งแต่เริ่มมีเกม ลุ้นยิ้มลุ้นโชค มาเป็นเกมในรอบสะสมเงินรางวัล แทนเกม ถังแตก ที่อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมานานกว่า 13 ปีนั้น ไม่มีผู้เข้าแข่งขันครั้งใดที่สามารถสะสมเงินรางวัลจากเกมนี้ได้เลยเป็นเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกัน (4 มีนาคม - 14 เมษายน พ.ศ. 2552) โดยสัปดาห์แรกที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ได้นั้น อยู่ในเทปวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยสามารถเปิดแผ่นป้ายหน้ายิ้มเป็นรูปโหน่งยิ้มได้ 1 แผ่นป้าย รับเงินรางวัล 10,000 บาท จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้เข้าแข่งขันท่านใดสามารถสะสมเงินรางวัลจากรอบนี้ ได้เป็นเทปที่2 หลังจากเทปวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา
- ในชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก เป็นชิงร้อยชิงล้าน รูปแบบเดียว นอกเหนือจาก ชิงร้อยชิงล้าน Top Secretที่ ไม่มีใครทำแจ๊คพอตแตกเลย