ชิงร้อยชิงล้าน รายการโทรทัศน์ที่วันรุ่นนิยมดูมากที่สุด

วัยรุ่นเป็นวัยที่ตื่นตัวและพร้อมรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การที่จะส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นจำเป็นต้องเข้าใจถึงทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ของวัยรุ่นอย่างถูกต้องชัดเจน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่องสุดยอดความนิยมของวัยรุ่นขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 – 21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2552

รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
รายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7)
ร้อยละ 20.3
รายการตีสิบ (ช่อง 3)
ร้อยละ 8.0
ละครเป็นต่อ (ช่อง 3)
ร้อยละ 6.9
รายการบางจะเกร็ง (ช่อง 5)
ร้อยละ 4.3
รายการสาระแนโชว์ (ช่อง 5)
ร้อยละ 3.6

รายการชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งสิ้น 5 ชื่อ โดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน ไว้เสมอ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret

2.ชิงร้ิอยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต

3.ชิงร้ิอยชิงล้าน Super Game

4.ชิงร้ิอยชิงล้าน Cha Cha Cha

5.ชิงร้ิอยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก



ขอขอบคุณ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา กรุงเทพโพลล์ และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า

ประวัติ

หลังจากชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม จบลง ชิงร้อยชิงล้านจึงเปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่มาเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า โดยเปลี่ยนฉากใหม่ให้ใหญ่และอลังการขึ้นและเพิ่มรูปแบบรายการให้เป็นรูปแบบใหม่พร้อมเปิดตัวกลุ่มตลกในชื่อว่า แก๊งสามช่า พร้อมเพิ่มโชว์ในรายการให้อารมณ์เหมือนดูโชว์สดด้วย
โดยรูปแบบรายการของชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในช่วงแรก ได้แนวคิดมาจากการแสดงคาบาเรต์และสีสันของเมืองลาสเวกัส ใน สหรัฐอเมริกาและรูปแบบที่ 2 ในปี 2545 ได้ปรับเปลี่ยนแนวโชว์จริงๆและเพิ่มโรงละครแก๊งสามช่าเพิ่อความสนุกสนานต่อผู้ชม

เกมในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า

ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคด้วยกัน คือยุคแรกเริ่ม (ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2541 ถึง 20 มกราคม 2542), ยุคกลาง (27 มกราคม 2542 - 26 มีนาคม 2551) และยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ (อย่างไรก็ดี เกมในยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก นั้น ก็ยังมีลักษณะมาจากชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในยุคกลางอยู่ดี แต่ภายหลังได้มีการดัดแปลงไปบ้างตามสมควร)

 เกมในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคแรกเริ่ม (4 มีนาคม 2541 - 20 มกราคม 2542)

ทายดารา

ในเกมนี้เป็นการทายดารารับเชิญ ซึ่งยังคงรูปแบบเดียวกับรายการชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยเกมทายดารา จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
  1. รอบที่ 1 จะเป็นการทายเสียงและเงา (เสียงของใคร) จะเป็นการทายเสียงและเงาของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้มีพัฒนามาจากเกมทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) เป็น 3 ภาพ 3 ช่วงเวลา สำหรับเกมทายเสียงและเงาของดารารับเชิญนั้นโดยให้ผู้เข้าแข่งขันต้องฟัง เสียงและดูเงาว่าดารารับเชิญคนนั้นเป็นใคร
  2. รอบที่ 2 จะเป็นการทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) จะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญโดยในภาพนี้จะเป็นการปกปิดใบหน้าบางส่วนของ ดารารับเชิญ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตจับจุดใบหน้าของดารารับเชิญให้ดีว่าคน นี้เป็นใคร
  3. รอบที่ 3 จะเป็นรอบ ขอสักครั้ง จะเป็นภาพ VTR โดยที่ผู้เข้าแข่งขันนั้นไม่สามารถเห็นหน้าของดารารับเชิญชัดๆ ได้ ดารารับเชิญนั้นจะทำแบบไม่เห็นหน้าหรือบังหน้าเอาไว้ด้วย เห็นได้แต่ด้านหลังดารารับเชิญเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตหน้าตาของดารารับเชิญไว้ให้ดีว่าคนนี้ เป็นใคร
ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 มีโอกาสเขียนในกระดานคำตอบได้ 3 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้น จะะเฉลยว่าดารารับเชิญคนนี้คือใคร โดยการเชิญดารารับเชิญปริศนาในรอบนั้นๆ ออกมาเปิดตัวด้วยการร้องเพลง เพื่อเป็นการเฉลยคำตอบ โดยที่ ถ้าผู้เข้าแข่งขันทีมไหน ตอบถูกในแต่ละรอบ ก็จะได้คะแนนไปด้วย หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดารารับเชิญเกี่ยวกับความเป็นมาและเรื่องราวต่างหลังจาก นั้น ยังมีแก๊งสามช่ามาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกัน อีกด้วย

จริงหรือไม่ (แก๊งสามช่า)

เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะมี ผู้กล้า ซึ่งอาจเป็นบุคคลจากทางบ้าน หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ มาแสดงโชว์สาธิตให้ดูในรายการ จากนั้น จะมีการท้าแก๊งสามช่าว่า แก๊งสามช่าสามารถโชว์แสดงอย่างที่ผู้กล้ามาโชว์สาธิตในรายการได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ จะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ทีมเป็นผู้ตอบ หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะทำการสาธิตโชว์แบบเดียวกันกับผู้กล้า เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าทำได้แบบผู้กล้าหรือไม่ ถ้าทำได้แสดงว่าจริง แต่ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าไม่จริง ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทีมใดที่ทายคำตอบถูกต้อง จะได้รับคะแนนไปในรอบนี้

จริงหรือไม่ (ผู้เข้าแข่งขัน)

เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบปกติที่รู้จักกันดี โดยนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันในเกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย มาใช้เป็นคำถามในรอบนี้ โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามอีกสองทีมที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้ 5 คะแนน แต่ถ้าตอบผิด จะไม่ได้คะแนน
ทั้งนี้เกมจริงหรือไม่รูปแบบนี้จะเป็นการทายทีมของฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่าง เดียว และเมื่อตอบถูกทีมฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเป็น 5 คะแนนตอบผิดจะไม่ได้คะแนนซึ่งกฏกติกาดังกล่าวนั้นคือเกมจริงหรือไม่รูปแบบ แรกของชิงร้อยชิงล้าน Top Secret นั่นเอง

เกมในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคกลาง (27 มกราคม 2542 - 26 มีนาคม 2551)

ทำได้หรือไม่ได้

เกมนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับจริงหรือไม่ในรูปแบบก่อนหน้านี้ ทว่ามีลักษณะเป็นเกมการแข่งขันมากขึ้น ต่างจากเดิมที่เป็นเพียงการแสดงตามแบบแผนเดียวกันกับผู้กล้า ทั้งนี้ จะมีเกมการแข่งขันเกมหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดกติกาแตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับว่าผู้กล้าในสัปดาห์นั้น จะทำการแข่งขันเกี่ยวกับเรื่องใด) โดยผู้กล้าในสัปดาห์นั้นจะเป็นผู้แข่งขันเกมดังกล่าวก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะต้องเล่นเกมในรูปแบบเดียวกันข้างต้น แต่จะมีการต่อรองเกิดขึ้น เพื่อให้แก๊งสามช่ามีโอกาสในการเล่นเกมสำเร็จเพิ่มมากขึ้น (เช่น การต่อเวลา, ต่อจำนวนคนที่แข่งขัน, ต่อผลของการเล่นเกม เช่น เกมเตะฟุตบอล จากเดิมต้องเตะ 5 ลูก อาจเหลือแค่ 3 ลูกเป็นต้น) ทั้งนี้ แก๊งสามช่าจะมีโอกาสเล่นเกมดังกล่าวได้ทั้งหมด 2 ครั้ง ซึ่งแต่เดิม ผู้เข้าแข่งขันจะเป็นหม่ำ และเท่ง โดยทั้งสองคนจะแข่งขันกันคนละ 1 รอบ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอบของหม่ำ และรอบของเท่ง แต่ภายหลังเกมทั้ง 2 รอบ ไม่จำเป็นจะต้องแข่งโดยหม่ำ และเท่งเท่านั้น เพราะบางเกมอาจต้องใช้ผู้เข้าแข่งขันเป็นคู่ หรือแก๊งสามช่าทุกคนเลยก็ได้
เกมทำได้หรือไม่ได้นี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มาร่วมรายการจะต้องทายว่าแก๊งสามช่าจะทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากแก๊งสามช่าเล่นเกมดังกล่าวสำเร็จเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นในรอบแรก หรือรอบที่สอง จะถือว่าแก๊งสามช่า ทำได้ โดยทันที แต่ในทางตรงกันข้าม หากแก๊งสามช่าเล่นเกมไม่สำเร็จทั้งสองรอบ จะถือว่า ทำไม่ได้ นั่นเอง ซึ่งตรงนี้ หากผู้เข้าแข่งขันคนใดทายถูกต้องก็จะได้คะแนนไปในรอบนี้
เกมทำได้หรือไม่ได้ ถูกใช้มาโดยตลอดเกือบ 10 ปี แม้ว่าชิงร้อยชิงล้านจะอยู่ในช่วงของทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม ก็ยังคงมีเกมนี้อยู่เช่นเดิม จนกระทั่งชิงร้อยชิงล้าน เริ่มมีรูปแบบของเกม ใครทำได้ เกิดขึ้น เกมทำได้หรือไม่ได้ จึงค่อยๆเริ่มหายไป จนกระทั่งในเดือนเมษายน 2552 เกมนี้จึงถูกยกเลิกไปโดยสมบูรณ์ (สำหรับเกม ใครทำได้ ในยุคนี้ ดูที่ เกมในขิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคปัจจุบัน)

ทายดาราสามช่ารับเชิญ

ในเกมนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องทายภาพวาดของหมอ - ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ ทันตแพทย์ และนักวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน ซึ่งจะมาวาดภาพล้อเลียนของดาราที่จะมาเป็น สามช่ารับเชิญ ประจำสัปดาห์นั้นๆ โดยในเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายว่าภาพที่หมอทวีวัฒน์ได้วาดนี้ เป็นภาพของใคร โดยหมอทวีวัฒน์จะไม่วาดภาพทั้งหมดในคราวเดียว แต่เมื่อวาดไปได้ส่วนหนึ่ง พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันแย่งกันกดไฟตอบคำถามก่อน ถ้าใครกดไฟติด คนนั้นจะได้สิทธิ์ในการตอบคำถาม หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบ โดยการให้คนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลง ถ้าคนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลงแล้ว เป็นดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป นั่นหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นตอบถูก และจะได้คะแนนไป แต่ถ้าคนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาแล้วไม่ใช่ดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป แก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น หม่ำ,เท่ง หรือโหน่ง ก็จะออกมาร้องเพลง ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันนั้นตอบผิด จะไม่ได้คะแนนไป ทั้งนี้ ถ้าตอบผิด หมอทวีวัฒน์จะทำการวาดภาพต่อและเกมจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจะทายภาพสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวได้ถูกต้อง ซึ่งเกมทายดาราสามช่ารับเชิญนี้ จะมีทั้งหมด 3 คน (หรือ 3 ข้อ) นั่นเอง
เกมนี้ เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เขาเป็นใครหนอ เขามาจากไหน" ซึ่งมาจากการที่แดนเซอร์ของรายการจะร้องเพลงประกอบกับการที่หมอทวีวัฒน์ กำลังวาดภาพอยู่ แต่ในระยะหลังๆ หมอทวีวัฒน์จะไม่เริ่มวาดภาพในรายการโดยทันที แต่จะวาดไว้ส่วนหนึ่งก่อนเริ่มรายการ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทายภาพที่หมอวาดไว้ก่อนแล้วก่อน ถ้าหากไม่มีใครทายถูก หมอจึงจะเริ่มวาดในส่วนที่เหลือต่อไป เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 27 มกราคม 2542 จนถึง 17 ตุลาคม 2544
มีข้อสังเกตประการหนึ่งในเกมนี้คือ หากผู้เข้าแข่งขันทายสามช่ารับเชิญถูกต้อง เมื่อสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวออกมา ประตูใหญ่ และประตูเล็กของฉากจะถูกเปิดออกทั้งหมด แต่ถ้าหากทายผิด และเป็นแก๊งสามช่าที่ออกมา ประตูเล็กจะถูกเปิดเพียงประตูเดียว

ใครกันหนอ

เกมใครกันหนอนี้ เป็นเกมที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามจากประสบการณ์ชีวิตของ สามช่ารับเชิญ ที่มาร่วมรายการ ทั้งนี้ เกมใครกันหนอ มีวิวัฒนาการมาจากเกม จริงหรือไม่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงมาเป็นการทายเรื่องของสามช่ารับเชิญ แทนที่จะเป็นเรื่องของผู้เข้าแข่งขันด้วยกันเอง ตลอดจนเป็นการทายว่าเรื่องราวประสบการณ์ของสามช่ารับเชิญที่พิธีกรได้เล่ามา นั้น เป็นเรื่องของใคร แทนที่จะทายว่าจริงหรือไม่ นั่นเอง
ในเกมนี้ พิธีกรจะบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของสามช่ารับเชิญคนใดคนหนึ่งให้ผู้ ชม และผู้เข้าแข่งขันได้ทราบก่อน จากนั้นจะถามว่าเรื่องที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ สามช่ารับเชิญคนใดเป็นเจ้าของเรื่อง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบว่าใครเป็นเจ้าของเรื่อง หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยให้สามช่ารับเชิญทั้งสามคนนั้นออกมายืนด้าน หน้าโพเดียม แล้วใครที่เป็นเจ้าของเรื่องให้ลงมาจากโดมแก๊งสามช่า (โพเดียมสามช่ารับเชิญจะอยู่ภายใต้โดมแก๊งสามช่า) ทั้งนี้ หากสามช่ารับเชิญใครคนใดคนหนึ่งลงมาจากโดมแก๊งสามช่า เขาผู้นั้นคือเจ้าของเรื่องดังกล่าว และถือเป็นคำตอบที่ถูกต้องนั่นเอง สำหรับผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตามที่ตอบถูกจะได้คะแนนไปในรอบนี้ หลังจากนั้น สามช่ารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องจะได้มาเล่าเรื่องที่เป็นประสบการณ์ชีวิต ของตนเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเล่าจบ พิธีกรจะเชิญแก๊งสามช่าออกมาสร้างสีสัน โดยการแสดงโชว์ตลกเพื่อความสนุกสนานนั่นเอง
เกมนี้ แต่เดิมมีเพียงข้อเดียว โดยสามช่ารับเชิญที่มาร่วมรายการจะมาจากในรอบทายดาราสามช่ารับเชิญนั่นเอง แต่เมื่อเกมทายดาราดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป ในวันที่ 24 ตุลาคม 2544 สามช่ารับเชิญจะมาจากการเปิดตัวโดยพิธีกร ซึ่งเป็นผู้แนะนำ โดยการเปิดตัวจะมีรูปแบบเดียวกันกับในเกมทายดาราสามช่ารับเชิญ คือการออกมาร้องเพลง นั่นเอง ขณะเดียวกัน เมื่อมีการยกเลิกเกมทายดาราสามช่ารับเชิญไป เกมใครกันหนอนี้ ได้เพิ่มข้อที่ 2 จากเดิมที่มีเพียงข้อเดียวเข้าไปด้วย โดยข้อที่ 2 ของเกมจะเป็นเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับผี และวิญญาณของดาราเจ้าของเรื่อง ซึ่งรูปแบบเกมจะเป็นเช่นเดียวกันกับข้อแรก โดยเจ้าของเรื่องก็จะเป็นผูมาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับผี และวิญญาณว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจะมี แก๊งสามช่า (หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง) ออกมาด้วย เพื่อสร้างความตกใจให้กับในห้องส่ง และผู้ชมทางบ้าน ต่อมา นับตั้งแต่ปลายปี 2548 จนถึง 2552 นั้น หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะวิเคราะห์เรื่องประสบการณ์น่ากลัวของดาราเจ้าของเรื่องว่าน่ากลัวขนาดไหน พร้อมกับบอกด้วยว่าจะให้รางวัลกี่กะโหลกแก่ดาราเจ้าของเรื่องนั้น ซึ่งรางวัลจะเป็นถ้วยรูปหัวกะโหลกเล็กๆแต่ต่างจำนวนกัน โดยขึ้นอยู่กับความน่ากลัวของเนื้อหา เช่น ความน่ากลัวอยู่ในระดับปานกลางจะให้ 3 กะโหลก ความน่ากลัวอยู่ในระดับเสียวสันหลังจะได้ 4 กะโหลก และความน่ากลัวระดับขวัญผวาจะได้ 5 กะโหลก ซึ่งถ้วย 5 กะโหลกถือเป็นคะแนนสูงสุด แต่ ส่วนใหญ่ หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะให้รางวัลแค่ 4 กะโหลก
เกมใครกันหนอนี้เริ่มมาตั้งแต่ 27 มกราคม 2542 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะอยู่ในช่วงของทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม และนับได้ว่าเกมนี้มีอายุครบ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ 27 มกราคม 2552 เป็นต้นมา

เกมในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคปัจจุบัน (5 พฤษภาคม 2552 - ปัจจุบัน)

จับคู่แก๊งสามช่า

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากพัฒนาจากเกมใครทำได้ จากยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก คือ ผู้เข้าแข่งขันจะได้มาร่วมแข่งขันกับแก๊งสามช่าด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงผู้ทายเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่ง จากนั้นก็จะมาร่วมเล่นเกมพร้อมๆกันกับแก๊งสามช่า โดยทีมของใครที่สามารถทำสถิติคะแนนจากการแข่งขันได้มากที่สุด หรือมีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันในทีมนั้นจะได้คะแนนไป แต่หากมีทีมมากกว่าหนึ่งทีมที่มีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในทีมดังกล่าวทั้งสองทีม หรือสามทีมจะได้รับคะแนนไป ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะได้คะแนนหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับว่า ทีมของตนจะมีผลการแข่งขันดีที่สุดหรือไม่นั่นเอง

ใครกันหนอ

เกมใครกันหนอนี้ เป็นเกมเดียวกันกับที่เคยเล่นในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า และยังคงเล่นอยู่จนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าในยุคนี้ จะมีคำถามแค่ข้อเดียวเท่านั้น (ก่อนหน้านี้จะมีคำถาม 2 ข้อ)

ชิงร้อยฯโชว์

เกมชิงร้อยฯโชว์ เป็นเกมใหม่ที่ชิงร้อยชิงล้านถือกำเนิดขึ้น เป็นการแสดงโชว์ต่างๆ และ ของแปลกๆ ของสามช่ารับเชิญที่เชิญในแต่ละสัปดาห์ พอสิ้นการแสดงจบลงก็เข้าสู่คำถาม ใน 1 คำถาม มี 3 ตัวเลือก ให้ผู้เข้าแข่งขันได้เขียนคำตอบลงไปในกระดานถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกรับ 1 คะแนน ถ้าตอบผิดจะไม่ได้คะแนนเลย เอาคะแนนนี้ไปรวมกับในรอบ ประตูหม่ำนำโชค เพื่อที่จะหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวที่เข้ารอบชิงล้านต่อไป

รอบสะสมเงินรางวัล

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้นยังคงใช้รูปแบบเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม แต่ถูกปรับปรุงมาหลายครั้งด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัล สำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย

ถังแตก

ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายทั้ง 14 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายที่มีผู้สนับสนุนในช่วงเกมนี้อยู่ 10 แผ่นป้าย ป้ายละ 10,000 บาท และป้ายถังแตกอีก 4 ป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 หรือป้ายผู้สนับสนุนรายการครบทั้ง 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนในเกม ป้ายต่อไปเป็นถังแตก แปลว่าหยุดเกมลง และกรณีเปิดป้ายถังแตกตั้งแต่แรกป้ายต่อไปเปิดป้ายที่มีผู้สนับสนุนในช่วง เกมนี้ก็ถือว่าเกมหยุดเช่นกัน
ในช่วงปี 2542 ได้ถูกปรับเป็นแผ่นป้ายทั้ง 12 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายที่มีผู้สนับสนุนในช่วงเกมนี้อีก 8 แผ่นป้าย ป้ายละ 10,000 บาท เช่นเดียวกับแบบแรกและป้ายถังแตกอีก 4 ป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 หรือป้ายผู้สนับสนุนรายการครบทั้ง 8 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนในเกม ป้ายต่อไปเป็นถังแตก แปลว่าหยุดเกมลง
ในปี 2549 ถูกปรับเปลี่ยนโดยแผ่นป้ายถังแตกมี 6 แผ่นป้ายและป้ายผู้สนับสนุน 6 แผ่นป้ายโดยให้เน้นป้ายรูปผู้สนับสนุนในช่วงเกมนี้เป็นหลักแต่เงินรางวัลยัง คงเป็นแบบเดิมส่วนป้ายถังแตกคือเกมหยุดไม่ว่าเปิดป้ายครั้งแรกก็ตาม โดยเปิดป้ายผู้สนับสนุนในช่วงเกมถังแตกครบ 6 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาทเช่นเดียวกับแบบแรก แต่ถ้าเจอถังแตกเกมหยุดแทน เกมนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2541 ถึงปี 2552 (ในยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)

สลับตำแหน่ง

เกมนี้เป็นการวางสลับตำแหน่งของกาแฟกระป๋องยี่ห้อเบอร์ดี้ ในเกมนี้จะมีรูปกาแฟกระป๋องทั้ง 6 รูป (ตามรสชาติที่ทางผู้สนับสนุนได้ผลิตในขณะนั้น) โดยจะมี 12 แผ่นป้าย โดยให้เลือก 8 แผ่นป้าย โดยถ้าป้ายแรกเป็นกาแฟกระป๋องรสอะไร ป้ายต่อไปต้องสลับไปเป็นอีกรสหนึ่งเท่านั้น ถ้าสลับกับป้ายก่อนหน้านั้นจะได้ป้ายละ 5,000 บาท ถ้าซ้ำกับป้ายก่อนหน้านั้นจะไม่ได้รางวัล แต่ถ้าสลับกันครบทุกป้าย จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันที เริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2541 ถึงปี 2542

จับคู่

เกมนี้เป็นการจับคู่กาแฟกระป๋องยี่ห้อเบอร์ดี้ (แต่เดิมเป็นเครื่องดื่มกระป๋องยี่ห้อคาลพิโก้) ซึ่งเกมนี้จะคล้ายกับเกม ทีวีปิดทีวีเปิด ในยุค ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม ในเกมนี้จะมีรูปกาแฟกระป๋องทั้ง 6 รูป (ตามรสชาติที่ทางผู้สนับสนุนได้ผลิตในขณะนั้น) โดยจะมี 12 แผ่นป้ายซึ่งแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปกาแฟกระป๋องแต่ละรสจะมี 2 แผ่นป้ายด้วยกัน โดยให้เลือก 6 แผ่นป้าย ถ้าหากจับคู่ตรงกับตำแหน่งคู่ละ 10,000 บาทแต่ถ้าไม่ตรงกันจะไม่ได้รางวัลแต่ถ้าจับคู่ได้ทั้งหมดครบ 6 คู่ จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันทีเริ่มตั้งแต่ช่วง ต้นปี 2542 ถึง ปี 2543

ต่อชิ้นส่วน

เกมนี้เป็นการวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนของกาแฟกระป๋องยี่ห้อเบอร์ดี้ ซึ่งเกมนี้จะแบ่งเป็น 2 กระป๋องด้วยกันซึ่งชิ้นส่วนบนจะมี 6 แผ่นป้ายและชิ้นส่วนล่างจะมี 6 แผ่นป้ายโดยให้เปิดเป็นส่วนล่างและชิ้นส่วนของกาแฟกระป๋องตรงตำแหน่งกันจะ ได้เงินรางวัล 5,000 บาทแต่เปิดป้ายเจอชิ้นส่วนบนหรือส่วนล่างแต่ไม่ตรงกันจะไม่มีเงินรางวัล อย่างใด ทั้งนี้ถ้าวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนของกาแฟกระป๋องตรงกัน 3 กระป๋องรสชาติทั้งหมด จะได้เงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าวางตำแหน่งตรงกันทั้ง 2 กระป๋อง จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันที เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2544 ถึงกลางปี 2549

พรานทะเลพรานเท่ง

ในช่วงปี 2549 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นจับคู่เหมือน โดยผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งยี่ห้อพรานทะเลเป็น ผู้สนับสนุนของรางวัลและสนับสนุนเกมนี้ โดยมีป้ายอยู่ 6 ป้าย ส่วนป้าย พรานเท่ง มี 6 แผ่นป้าย โดยเปิดป้ายได้ผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งพรานทะเล จะได้เงินรางวัล 5,000 บาท แต่ถ้าเจอพรานเท่งแปลว่าไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าเปิดป้ายพรานทะเลทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันทีเริ่มใช้ตั้งแต่ ต้นปี 2549 ถึง ต้นปี 2551

ลุ้นยิ้มลุ้นโชค

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง ในอิริยาบถยิ้ม และเศร้า โดยแผ่นป้ายรูปหน้ายิ้ม และหน้าเศร้าจะมีอย่างละ 6 แผ่นป้ายด้วยกัน หากเปิดป้ายได้ใบหน้าของสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มจะได้เงินรางวัลสะสม 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เศร้าเกมจะหยุดลงทันที ทั้งนี้ หากสามารถเปิดป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้ายจะได้เงินรางวัลสะสม 100,000 บาททันทีเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2552

เป่ายิ้งฉุบ

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นมือรูปค้อน 4 แผ่นป้าย, มือรูปกระดาษ 4 แผ่นป้าย และมือรูปกรรไกร 4 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการเลือกแผ่นป้ายมา 6 แผ่นป้าย และวางในตำแหน่งที่ได้จัดไว้ จากนั้นจะต้องเปิดแผ่นป้ายให้ได้รูปมือสัญลักษณ์ที่สามารถชนะแผ่นป้ายรูปมือ ที่ติดไว้ด้านบนได้ โดยอ้างอิงจากกติกาของเกมเป่ายิ้งฉุบ (เช่นหากแผ่นป้ายด้านบนเป็นค้อน แผ่นป้ายล่างต้องเปิดให้ได้กระดาษ เป็นต้น) ถ้าหากสามารถเปิดแผ่นป้ายแล้วชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ จะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากผลออกมาเสมอ (เปิดแผ่นป้ายได้เหมือนกับด้านบน) หรือผลออกมาแพ้ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสม หากสามารถเป่ายิ้งฉุบชนะได้ครบทั้ง 6 ครั้ง หรือในอีกนัยหนึ่ง หากสามารถเปิดแผ่นป้ายชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาทเกมรอบเป่ายิ้งฉุบได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2552

ตู้มหาสมบัติ กับ เบอร์ดี้

เกมนี้ เป็นเกมใหม่ที่ทางชิงร้อยชิงล้านได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีฉลากราคาตั้งแต่มูลค่า 20 บาท / 50 บาท / 100 บาท / 500 บาท และ 1,000 บาท ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะต้องจับฉลากราคาให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 30 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วนำมานับฉลากราคาที่จับมาและเป็นเงินรางวัลสะสม โดยจะทำการสะสมรางวัลในเกมนี้ 2 รอบเหมือนกับเปิดแผ่นป้ายสะสมเงินรางวัลที่ผ่านมา สีของฉลากราคา มี 5 ราคาดังนี้
  • สีเขียว มูลค่า 20 บาท
  • สีฟ้า มูลค่า 50 บาท
  • สีแดง มูลค่า 100 บาท
  • สีม่วง มูลค่า 500 บาท
  • สีเทา มูลค่า 1,000 บาท

รอบตัดสิน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot โดยจะมี 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของปัญญา และ มยุรา ซึ่งเป็นพิธีกรในรายการ และป้ายรูปใบหน้าหม่ำ โดยถ้าเจอป้ายปัญญาแปลว่าได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนส่วนป้ายมยุรา หากเปิดได้ จะถือว่าเข้ารอบทันที (มีค่า 10 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่ค่าของคะแนนสามารถชนะป้ายอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้ายปัญญาด้วย) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันที ไม่ว่าจะเปิดได้อะไรก็ตาม) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่, ทายดาราปริศนา (ยุคที่ 1) ทำได้หรือไม่ได้, ทายสามช่ารับเชิญ, ใครกันหนอ (ยุคที่ 2 และ 3) ด้วย ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมมากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ ในทีมที่สามารถเปิดได้ 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญา และมยุรา ทั้งคู่ ทีมนั้นจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นเงินรางวัล 100,000 บาท
ทว่าในปี 2549 ไปจนถึงยุค ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ได้ถูกปรับเปลี่ยนเล็กน้อยโดยมีหลักการดังต่อไปนี้
  1. ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้เล่นที่มีคะแนนมากกว่ามีสิทธิ์เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เล่นที่มีคะแนน้อยกว่าได้เลือก 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ถือว่าตกรอบโดยอัตโนมัติ
  2. ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยกว่าสองคนดังกล่าว ถือว่าตกรอบเช่นกัน
  3. ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่เหลือ จะได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย
  4. ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เลือกคนละ 1 แผ่นป้ายทุกคน
สำหรับการเล่นเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ผู้ที่เปิดได้ 2 ป้ายจะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ ในผู้เข้าแข่งขันที่สามารถเปิดได้ 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญา และมยุรา ทั้งคู่ ผู้เข้าแข่งขันนั้นจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นเงินรางวัล 100,000 บาท ทว่าในทางปฏิบัติ การจะได้สิทธิ์ลุ้นเงินรางวัล 100,000 บาทได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักในข้อที่ 3 และข้อ 1 ซึ่งได้กล่าวมาไว้ข้างต้นเท่านั้นอย่างไรก็ดี ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา จะไม่มีการให้เงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาทอีก ในกรณีที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญา และมยุราอีก โดยให้ถือว่าผู้ที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุรานั้นเข้ารอบสุดท้ายไปโดย ทันทีแทน แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายรูปปัญญา และผู้เข้าแข่งขันอีกคนเปิดได้ป้ายรูปมยุรา ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดได้ป้ายรูปมยุราจะได้เข้ารอบสุดท้าย

ประตูหม่ำนำโชค

เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง คือ ประตูหม่ำ / ประตูเท่ง / ประตูโหน่ง และ ประตูตุ๊กกี้ โดยในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า และรอบทายสามช่ารับเชิญ ถ้าหากผู้เข้าแข่งท่านใดที่สามารถเลือกเจอประตูหม่ำได้ถูกต้องจะได้เข้ารอบ ชิงล้านไปเลยแทนเปิดแผ่นป้ายสะสมคะแนน รอบตัดสิน ประตูหม่ำนำโชค ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้
  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันคนใดเปิดประตูมาเป็น ประตูหม่ำเข้ารอบไปเลย
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตูเท่านั้น จะต้องวัดดวงกันว่าผู้เข้าแข่งขันท่านใดที่เปิดประตูมาเป็นหม่ำจะเข้ารอบ ทันที
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันคนแรกจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตูเท่านั้นถ้าหากเปิดประตูมาเป็น ประตูหม่ำเข้ารอบไปเลย
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันคนใดเปิดประตูมาเป็น ประตูหม่ำเข้ารอบไปเลย
โดยที่เกมนี้ มัพัฒนาการมาจาก "ประตูหม่ำ ประตูหมื่น" ในอดีต

รอบสุดท้าย

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้นจะมี 12 แผ่นป้ายด้วยกันโดยป้ายเลข 0 มี 6 แผ่นป้ายและป้ายสปอนเซอร์หลักในการลุ้นโชค (ซึ่งสปอนเซอร์หลักในการลุ้นโชคคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่า) ในการลุ้นโชค จะมี 3 ป้ายที่มีตัวเลข 20000 ซึ่งเป็นเงินรางวัล 20,000 บาท แต่อีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่าถือว่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใดทั้งนี้ถ้าเปิดป้าย 0 หรือสปอนเซอร์หลักครบทั้ง 6 ป้าย จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีที่จับรางวัล
ทว่าตั้งแต่ปลายปี 2549 ถึง 25 มีนาคม 2552 นั้นได้ปรับเปลี่ยนโดยเน้นเปิดป้ายรูปผู้สนับสนุนรายการโดยป้ายผู้สนับสนุน รายการโดยในปี 2550 ปรากฏว่าทางรายการได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงอาหาร ยี่ห้อแม่ครัวฉลากทอง จะมี 6 แผ่นป้ายและเลข 0 มี 6 แผ่นป้ายโดยถ้าเปิดป้ายรูปผู้สนับสนุนป้ายละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดป้ายเป็นเลข 0 ซึ่งเป็นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าเปิดสปอนเซอร์หลักครบทั้ง 6 ป้าย จะได้เงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะให้คนละ 1,000,000 บาทให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีที่มาจากการจับรางวัลซึ่งเป็นฉลากชิ้น ส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 1 เมษายน 2552 ปรากฏว่าทางรายการได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ พานาโซนิค และได้มีการเปลี่ยนกติการอบนี้ใหม่ด้วย กล่าวคือ มีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายรูปโลกยิ้ม ซึ่งมีมูลค่าแผ่นป้ายละ 10,000 บาท จำนวน 6 แผ่นป้าย และป้ายเลข 0 ซึ่งถือเป็นป้ายเปล่าจำนวน 6 แผ่นป้าย ทว่าหลักกติกายังคงเป็นเหมือนเช่นเดิมแต่จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน
ปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนรายการเป็นผงซักฟอกแอทแทค อีซี่ โดยกติกามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเปิดป้ายแอทแทค อีซี่ ให้เจอเสื้อยืดสีขาว ซึ่งมีป้ายเสื้อยืดสีขาวทั้งหมด 6 ป้าย จะได้รับรางวัลป้ายละ 10,000 บาท หากเปิดครบ 6 ป้าย จะได้รับรางวัล 1,000,000 บาท กลับกัน แต่หากเปิดเจอป้ายแบคทีเรีย 3 หัว ซึ่งมี 6 ป้ายเช่นกัน จะไม่ได้รางวัลในป้ายนั้น (เช่นเดียวกับการเปิดเจอเลขศูนย์ในช่วงก่อนหน้านี้)

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่านั้นจะมีทีมละ 2 ทีมด้วยกันโดยแต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนด้วยกัน (รูปแบบคล้ายคลึงกับ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret) โดยตั้งแต่ 4 มีนาคม 2541 ถึง 20 มกราคม 2542 ตั้งแต่ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็น 3 คนต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกัน ในกรณีที่ทางรายการจะเชิญดารานักแสดงชาย 2 คนและหญิง 1 คน ในสัปดาห์ต่อไปจะเชิญดารานักแสดงหญิง 2 คนและดารานักแสดงชาย 1 คน สลับกันสัปดาห์เว้นสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2542 ถึงช่วงปัจจุบัน

การผลิต VCD

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ได้มีวีซีดีโดยส่วนมากจะเป็นละครของแก๊งสามช่าและแข่งท้าผู้กล้าด้วยโดยผู้ ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่วงแรกคือบริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยจะมีละครแก๊งสามช่าอยู่ 2 ตอนและแข่งท้าผู้กล้ามีอยู่ 1 ตอนปัจจุบันผู้ที่ถือลิขสิทธิ์คือบริษัท พี.เอ็ม. เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัดส่วนผู้จัดจำหน่ายเป็นของบริษัท อีวีเอส โดยเพิ่มช่วงท้าแข่งผู้กล้าอีก 1 ตอน

เกร็ดข้อมูล

  • ชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นชื่อที่ถูกใช้นานมากที่สุด รวมเวลา 10 ปี 22 วัน
  • อุโมงค์ของชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า จะมี 2 รูปแบบคือ
    • ส่วนใน ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2541 ถึง 28 สิงหาคม 2545) จะมีลักษณะคล้ายประตูทางเข้าถ้ำ ประตูมีไฟกระพริบคำว่า Cha ขนาดใหญ่
    • ส่วนในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (ตั้งแต่ 4 กันยายน 2545 ถึง 26 มีนาคม 2551) จะมีลักษณะคล้ายแบบแรกแต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยมีซุ้มด้านบนเป็นรูปหัวสิงโตทองคำ และเป็นทรงหกเหลี่ยม ที่ด้านความสูงน้อยกว่าด้านความกว้าง
  • ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้น มีเหตุการณ์ล้านแตกเพียง 2 ครั้ง คือ
    • ล้านที่ 13 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ โก๊ะตี๋ อารามบอย ทำล้านแตกในรอบสะสมเงินรางวัล ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
    • ล้านที่ 14 เป็นผู้เข้าแข่งขัน คือ บอล เชิญยิ้ม ทำล้านแตกในรอบสุดท้าย ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549
  • Mr. Regald Boning และทีมงานจากรายการ Mega Clever ฉลาดสุดสุด ที่เคยออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เคยมาร่วมรายการชิงร้อยชิงล้านแล้ว โดยเฉพาะ Mr. Regald Boning ได้มีโอกาสร่วมแสดงละครและแข่งขันร่วมกับแก๊งสามช่ามาแล้ว
  • ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้น ได้เพิ่มโดมประตูรูปแก๊งสามช่าอยู่ด้วย ในช่วงแรกเป็นรูป หนู หม่ำ เท่ง โดยรูปภาพจะเป็นสีต่าง ๆ เช่น หนู (สีแดง) หม่ำ (สีเขียว) และเท่ง (สีน้ำเงิน) แต่ในปีเดียวกัน หนู คลองเตย ได้ออกจากแก๊งสามช่า ทำให้รูปในโดมนั้นขาดไป แต่หลังจากเพิ่มโหน่งเข้ามาในแก๊งสามช่า รูปในโดมประตูเพิ่มและรูปภาพสีก็เปลี่ยนแค่ เท่ง (สีแดง) และโหน่ง (สีน้ำเงิน) ยกเว้นหม่ำที่ใช้รูปสีเดิมแต่คนละภาพ แต่ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่สองในปี 2545 นั้น ในช่วงแรกเป็นภาพแก๊งสามช่าเต็มตัว แต่ในปี 2546 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนเป็นภาพครึ่งตัว และเปลี่ยนตำแหน่งจากรูปของเท่งและโหน่งอยู่ตำแหน่งสลับกัน และใช้มาจนถึงในปัจจุบัน
  • ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในปี 2549 (ตั้งแต่ 4 ตุลาคม 2549) นั้น หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรแทนปัญญา ในกรณีที่ปัญญาติดภารกิจและงานต่าง ๆ จนไม่สามารถมาร่วมดำเนินรายการได้
  • ละครสามช่าตอนแรกออกอากาศวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งตอนแรกเป็นละครสั้นเวลา 3 - 5 นาที และเมื่อในปี 2543 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นละครยาวจนถึงปัจจุบัน
  • ผู้กล้าท้าแก๊งสามช่าคนแรกคือดิเรก รุจ ท้าแข่งเล่นกล่องล่องหนออกอากาศวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541
  • ในการเชิญสามช่ารับเชิญขึ้นมาร้องเพลง มยุราจะเชิญออกมาทีละคน จนถึงยุคปลายของชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กเป็นต้นไป มยุราจะเชิญออกมาพร้อมกันทั้ง 3 คน
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ร่วมกับ รายการ ชิงร้อยชิงล้าน มอบรางวัลทองคำหนัก 100 บาท ให้กับผู้โชคดีทางบ้านและส่วนผู้เข้าแข่งขันได้รับรางวัล 1,000,000 บาท ตั้งแต่ปี 2541-2549 ถือว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ร่วมกับ รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ร่วมกันมอบโชครวมระยะเวลา 8 ปี ก่อนจึงมาเปลี่ยนเป็น ผลิตภัณฑ์ตรา แม่ครัว ในปี พ.ศ. 2550
  • รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เทปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ถือว่าเป็นเทปแรกที่มีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงล้วนทั้ง 3 คน ต่างจากเทปที่ๆ ผ่านมา ที่เคยมีผู้เข้าแข่งขันผู้หญิง 2 คน ชาย 1 คน หรือ ชาย 2 คน หญิง 1 คน
  • รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เทปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ถือว่าเป็นเทปที่ตื่นเต้นมากที่สุดนั่นก็คือ ในรอบเป่ายิ้งฉุบ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน เอเอ-ปัญญาพล/ใหม่-สุคนธวา และ หลุยส์-พงษ์พันธุ์ สามารถเปิดแผ่นป้ายชนะทั้งหมด 5 แผ่นป้ายและถ้าเปิดแผ่นป้ายมาเป็นกรรไกรจะได้เงิน 1 ล้านบาท แต่พิธีกรเปิดแผ่นป้ายมาเป็นค้อนเกมยุติและเกือบทำแจ็คพอต 1 ล้านบาทแตกในรอบเป่ายิ้งฉุบ รับเงินรางวัลสะสม 25,000 บาท

กระแสตอบรับของรายการ

  • ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น” ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคมพ.ศ. 2552 ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้พ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมได้รับทราบเพื่อใช้ประกอบ การตัดสินใจดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ของวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับที่ 1 รายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7) ร้อยละ 20.3